จากอดีดอันยาวนานไม่ต่ำกว่า ๑,๕00 ปี วัดพระประโทณเจดีย์ได้ผ่านยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด แล้วทรุดโทรมไปตามการเวลา และได้พลิกฟื้นเจริญรุ่งเรืองมาอยู่วัดแนวหน้า จนได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาดีเด่น และยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร และได้รับพระราชทานพัด วัดพัฒนาดีเด่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ดังนี้ ก็เพราะความพยายามอย่างยวดยิ่ง ในการปรับปรุงพัฒนาบริเวณภายในวัด ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยเจริญตาเจริญใจแก่ผู้พบเห็น ได้ซ่อมแซมก่อสร้างกุฏิวิหารให้มั่นคงแข็งแรงสวยงาม ของหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบัน คือ พระเดชพระคุณฯ พระราชเจติยาภิบาล
วัดพระประโทณเจดีย์ ในปัจจุบันเป็นวัดที่มีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ ๖ ด้านด้วยกัน คือ
๑. เป็นวัดที่มีความสะอาดสวยงาม เจริญตาเจริญใจของผู้พบเห็น
๒. เป็นวัดที่มีการวางผังอย่างดีเยี่ยม สิ่งปลูกสร้างภายในวัดเป็นระเบียบเรียบร้อยทรงไทยทั้งหมด
๓. เป็นวัดที่ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรมาโดยตลอด พระภิกษุสามเณรของวัดจึงมีแต่รูปที่ฝักใฝ่แต่การศึกษาเกือบทั้งหมด
๔. เป็นวัดที่ริเริ่มและดำเนินโครงการข้าวก้นบาตร เพื่อสงเคราะห์นักเรียนโรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๒๙ จนถึงปัจจุบัน และมีนักเรียนมารับประทานอาหาร ๓๐- ๔๐ คน ของวันที่เปิดการสอน
๕. เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระประโทณเจดีย์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เป็นศิลปแบบทวารวดี
๖. เป็นวัดที่มีการปกครองโดยยึดหลักพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ และทรงบัญญัติไว้ และตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์กฎระเบียบมหาเถระสมาคม คำสังของผู้บังคับบัญชา เป็นหลักสำคัญ
ปัจจุบันนี้ คือ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดพระประโทณเจดีย์ มีพระภิกษุสามเณรรวมทั้งหมด ๘๒ รูป แยกเป็นพระภิกษุ ๓๐ รูป สามเณร ๕๒ รูป
สำหรับสถานที่ราชการที่ตั่งอยู่ในพื้นที่ของวัดมีทั้งหมด ๔ แห่งด้วยกัน คือ
๑. วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
๒. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช)
๓. โรงเรียนพระประโทณเจดีย์
๔. สำนักงานสุขาภิบาลธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลา
อดีตเจ้าอาวาส วัดพระประโทณเจดีย์ ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏค้นได้
๑ พระครูทักษิณานุกิจ
ชื่อ พระครูทักษิณานุกิจ ฉายา อายุ พรรษาไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานเดิม ชื่อ อยู่ เกิด ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
งานปกครอง เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ ประมาณตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๒๔
สมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นพิเศษ
ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและพัฒนาวัดมาโดยตลอด แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่นอน เนื่องจากไม่พบหลักฐานที่บันทึกเกี่ยวกับผลงานของท่าน รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ๒๕ ปี
๒ พระครูสมถกิตติคุณ
ชื่อ พระครูสมถกิตติคุณ ฉายา เปสโล อายุ ๘๑ ปี พรรษา ๖๐
สถานะเดิม ชื่อ กลั่น นามสกุล เทศนาบุญ เกิดวันพฤหัสบดี ปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๓ บิดา นายเขียว เทศนาบุญ มารดา นางมา เทศนาบุญ ตำบล ยายชา อำเภอ สามพราน จังหวัด นครปฐม
อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๑ ปี มะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ วัดพระประโทณเจดีย์ ตำบลพระประโทน อำเภอเมื่องนครปฐม จังหวัดนครปฐม
งานปกครอง - พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระประโทณรูปที่ ๒ เมื่ออายุ ๓๒ มีพรรษาได้ ๑๑ พรรษา
-เป็นเจ้าคณะแขวง (เจ้าคณะอำเภอในปัจจุบัน) อำเภอเมื่องนครปฐม จังหวัดนครปฐม
-เป็นกรรมการสงฆ์
-เป็นพระอุปัชฌาย์
ความชำนาญการ
-มีความสามารถในการปกครองพระภิกษุสามเณรอย่างดียิ่ง และเป็นผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัยของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างมาก
-การก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์
งานสาธารณูปการ
- สร้างกุฏิหอสวดมนต์ ๑ หลัง
- ท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ๔๘ ปี
๓ พระใบฎีกาบุญทอง เย็นใจ
ชื่อ นามเดิม บุญทอง นามสกุล เย็นใจ (เดิมแซ่จิ๋ว) ฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
สถานเดิม เกิดปี ขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นบุตรคนที่ ๒ บิดา นายเลี้ยง เย็นใจ มารดา นาง อิน เย็นใจ
ตำบลพระประโทน อำเภอเมื่องนครปฐม จังหวัดนครปฐม
อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๐ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๖๕ ณ วัดพระประโทณเจดีย์ ตำบลพระประโทน อำเภอเมื่องนครปฐม จังหวัดนครปฐม
งานปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๔ เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดพระประโทณเจดีย์ และเป็นเจ้าอาวาสในปีเดียวกัน เมื่ออายุ ๒๙ พรรษา ๙
สมณศักดิ์ เป็นฐานานุกรมที่ พระใบฎีกา บุญทอง ของ พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่บุญ) เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว เจ้าคณะนครชัยศรี (เจ้าคณะจังหวัด) ดำรงตำแหน่งจ้าอาวาสอยู่ ๑ ปี ก็ลาสิกขาในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ขณะนั้น อายุได้ ๓๑ ปี สมรสกับนางสาวผิว วงษ์วรรค์ บ้านบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ต่อมาได้เป็นกำนัน ตำบลบางแก้ว มีฐานมั่นคงดี ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ สิริรวมอายุ ได้ ๙๕ ปี
การศึกษา สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดพระประโทณเจดีย์
ทางธรรมจบนักธรรมเอก
ผลงาน เนื่องจากดำรงตำแหน่งในเวลาระยะอันสั้นจึงไม่ปรากฏผลงานอันเด่นชัด นอกจากในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ขณะเป็นพระลูกวัดได้ชักชวนคุณโยมชม จีระพันธ์ สร้างศาลาการเปรียญ ๑หลัง ซึ่งต่อมาก็ได้ทรุดโทรมไปตามการเวลา เจ้าอาวาสรูปต่อ ๆ มาก็ได้รื้อถอนและย้ายไปปลูกที่ใหม่ (ปัจจุบันคือศาลาฌาปนสถานซึ่งใช้ได้เฉพาะเสาเท่านั้น)
๔ พระครูสมถกิตติคุณ (ชุ่ม)
ชื่อ นามเดิม ชุ่ม นามสกุล เทศนาบุญ บิดา นายเขียว เทศนาบุญ มารดา นางมา เทศนาบุญ
สถานะเดิม เกิดที่ตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ท่านเป็นน้องชาย ของพระครูสมถกิตติคุณ (กลั่น เปสโล) เจ้าอาวาสรูปที่ ๒
อุปสมบท ไม่ปรากฏยืนยัน วัน, เดือน, ปี ที่แน่นอน ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕
สมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัติชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ทราบว่าด้วยเหตุใดหลักฐานอื่น ๆ เกี่ยวกับตัวท่านมีปรากฏน้อยมาก นอกจากจะมีปรากฏว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ศิษยานุศิษย์เก็บศพไว้ถึง ๑๐ ปี และได้ฌาปนกิจศพ ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ สันนิษฐานว่าที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส บ้านเมืองกำลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกด้วย ประกอบกับท่านชราภาพมากแล้ว จึงไม่สามารถสร้างผลงานใด ๆ ให้เป็นที่ปรากฏนัก ทราบว่าท่านเป็นพระที่มีความสันโดษอย่างยิ่ง เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ค่อยนิยมเกี่ยวกับด้านวัตถุมงคล และการก่อสร้างใด ๆ
ผลงาน ท่านได้รวบรวมเอาศิลปวัตถุของโบราณต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวัดและที่มีคนขุดพบแล้วนำมาถวายท่าน ท่านจึงสร้างอนุสาวรีย์รูปทรงเจดีย์ นำของเหล่านั้นมาติดไว้รอบเจดีย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง อยู่ข้างกุฏิ ๔ ในวัดพระประโทณ แหล่งรวบรวมแสดงโบราณวัตถุสมัยทวารวดี ของวัดพระประโทณเจดีย์ แต่ละปีมีนักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และนักศึกษา ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศมาดูมาศึกษาเป็นระยะ ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่บรรจุอัฐ ของพระครูสมถกิตติคุณ (ชุ่ม เทศนาบุญ)
๕. พระอธิการบุญรอด อาภานันท์
ชื่อ นามเดิม บุญรอด นามสกุล แซ่โง้ว เป็นบุตรคนที่ ๓ บิดา นายดี อาภานันท์ มารดา นางบู่ อาภานันท์
สถานะเดิม เกิดปี พ.ศ.๒๔๔๘ หมู่ที่ ๕ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
อุปสมบท เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ ขณะอายุได้ ๒๐ ปี ในช่วงระหว่างเป็นพระลูกวัด ท่านได้ช่วยเหลืองานกิจการคณะสงฆ์ของ พระครูสมถกิตติคุณ (ชุ่ม เทศนาบุญ) มาโดยตลอด เนื่องจากหลวงพ่อชุ่มได้ชราภาพมาก ต่อมาภายหลังจึงได้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสรูปที่ ๕
ความชำนาญการ ท่านมีความชำนาญในด้านการก่อสร้างเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่างไม้ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมวาจาจารย์ ผลงานของท่านที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันคือ รูปปั้นยายหอมกำลังอุ้มพญาพาน ซึ่งท่านได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ ผู้ปั้นคือนายช่างนาม เป็นชาวตำบลพระประโทน ต่อมาได้ทำการลาสิกขาบทปี พ.ศ.๒๔๘๗ แล้วได้สมรสครองเรือนดำรงชีพอยู่กับภรรยาในเขตตำบลพระประโทน ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว
๖ พระอธิการบุญเลิศ กลฺยาโณ
ชื่อ นามเดิม บุญเลิศ นามสกุล ฟักแก้ว บิดา นายมิ่ง ฟักแก้ว มารดา นางแหยม ฟักแก้ว
สถานะเดิม เกิด เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๖๑ ที่บ้านไร่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๑ ปี ที่วัดดอนใหญ่ ตำบลดอนเซ่ง อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๑ โดยมีหลวงพ่อแช่ม วัดดอนเซ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ พรรษาที่ ๖ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระประโทณเจดีย์ ปีพ.ศ.๒๔๘๗
งานสาธารณูปการ ในขณะที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส ได้นำญาติโยมก่อสร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ในปีพ.ศ.๒๔๙๔ สิ้นงบประมาณ ๑ แสนบาทเศษ เป็นศาลาไม้ ยกพื้นสูง ๑ เมตร หัวหน้าช่างขณะนั้น คือกำนันเหว่า นะวาระ ต่อมาภายหลัง เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือพระราชเจติยาภิบาล ได้ทำการกระดี่พื้นให้สูงขึ้น ๑.๘๐ เมตร และได้บูรณะ ปรับปรุงให้มีสภาพดียิ่งขึ้น ผลงานอีกอย่างหนึ่ง ของพระอธิการบุญเลิศ คือได้ซ่อมแซมหอสวดมนต์ ๑ ครั้ง ให้มีสภาพแข็งแรงเหมาะแก่การทำกิจของสงฆ์ และสร้างเหล็งราวบันไดขึ้นไปบนองค์พระประโทณฯ อยู่บนชั้น ๒
ความสามารถพิเศษ เมื่อมีพรรษา ๖ ท่านได้เป็นพระผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ และเป็นอนุสาวนาจารย์
ความชำนาญการ ท่านมีความชำนาญด้านการก่อสร้าง
งานศาสนศึกษา ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการควบคุมการสอบธรรมสนามหลวง ที่วัดโพรงมะเดื่อ (สมัยนั้นทำการสอบในราวเดือนยี่) เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง ที่วัดเสนหา จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นวัดของเจ้าคณะจังหวัด (ฝ่ายธรรมยุต) ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอยู่ ๗ ปี ภายหลังท่านได้ลาสิกขาบท เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๔ ปัจจุบันนี้ยังมีชีวิตอยู่ อายุ๘๑ ปี ดำรงตนอยู่อย่างเรียบง่ายกับลูกหลาน ที่คุ้มวัดธรรมศาลา
๗ พระครูวินยาภินันท์ (หวัง)
ชื่อ พระครูวินยาภินันท์ ฉายา พุทฺธสโร วัดพระประโทณเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
สถานะเดิม นามเดิม หวัง นามสกุล เพ็ชรที่หนึ่ง บิดา นามพิมพ์ เพ็ชรที่หนึ่ง มารดา นางสี เพ็ชรที่หนึ่ง เกิดวันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๓๔ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีเถาะ บ้านวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
บรรพชา – อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ณ พัทธสีมา วัดช่องลมวรรณาราม ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม พระอธิการตาด วัดบางวันทอง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการอินทร์ วัดช่องลมวรรณาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการเกตุ วัดหัวป่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังอุปสมบท ท่านได้ย้ายเข้าไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ ระยะแรกเข้าไปจำพรรษาอยู่ที่วัดราชสิทธาราม ธนบุรี อยู่ ๓ พรรษา แล้วจึงย้ายเข้าไปอยู่ที่วัดบพิตรภิมุข เพื่อเรียนทั้งบาลีและนักธรรม สอบนักธรรมตรีได้เมื่อพ.ศ.๒๔๖๒ แต่บาลีที่เรียนไว้ยังไม่ยอมสอบ เพราะตั้งใจว่าจะเรียนไว้เพื่อรู้ ก็พอดีท่านเจ้าคุณมหาสิทธิการ (ถม) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม มานิมนต์ให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ที่วัดบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม จึงย้ายไปอยู่ที่วัดบางขันแตก เมื่อพ.ศ.๒๔๖๓ ได้อยู่สอน ๑ พรรษา ท่านเจ้าคุณมหาสิทธิการ ก็ส่งให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดโพงพาง จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อพ.ศ.๒๔๖๔ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ ๑ ปี ก็ขอลาออกแล้วได้ไปเป็นครูสอนนักธรรมและบาลีที่วัดอัมพวันเจติยาราม อยุ่กับท่านเจ้าคุณพระมหาสิทธิการ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมเป็นพระวินัยธร เมื่อพ.ศ.๒๔๖๕ ต่อมาย้ายกลับเข้าไปศึกษานักธรรมและบาลีอยู่จำพรรษาที่วัดบพิตรภิมุขอีก แล้วสอบนักธรรมชั้นโทและ ป.ธ. ๓ ได้เมื่อพ.ศ.๒๔๗๒ สอบได้ ป.ธ. ๔ เมื่อพ.ศ.๒๔๗๔ สอบได้ ป.ธ. ๕ เมื่อพ.ศ.๒๔๗๖ ต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๔๘๑ ได้ถูกนิมนต์ให้ไปเป็นครูสอนนักธรรมและบาลีที่วัดเทียนดัด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อยู่สอนได้ ๑ พรรษา ก็กลับไปอยู่ที่วัดบพิตรภิมุข ก็พอดีพระครูอมรศัพท์ (สุพงษ์ เนตรสว่าง) ซึ่งเป็นผู้ช่วยเลขาของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุฯ เพื่อจะได้ให้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม จึงย้ายจากวัดบพิตรภิมุขไปอยู่วัดมหาธาตุฯ เมื่อพ.ศ.๒๔๘๒ แล้วสอบป.ธ. ๖ ได้ในปีนั้นเอง เพื่อที่จะได้มีสิทธิสอบ ป.ธ. ๗ จึงหันกลับมาสอบนักธรรมเอก สอบได้เมื่พ.ศ.๒๔๘๔ แต่สอบ ป.ธ. ๗ ตก เมื่อได้ย้ายเข้ามาอยู่วัดมหาธาตุฯ แล้วได้เป็นครูสอบนั้กธรรม บาลีไวยากรณ์ธรรมบทกอง ๑ เป็นกรรมการอบรมศิษย์วัดมหาธาตุฯ และเป็นเจ้าคณะปกครองคณะ ๒๕ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ส่งให้ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดผาสุการาม อำเภอบางแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งขณะนั้นกำลังเกิดเรื่องยุ่งอยู่ แล้วได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อพ.ศ.๒๔๘๙ ได้เป็นสาธารณูปการอำเภอบางเลน เมื่อพ.ศ.๒๔๙๗ ไปอยู่ที่วัดผาสุการามได้ ๑๑ พรรษา ก็พอดีที่วัดพระประโทณเจดีย์ ว่างเจ้าอาวาส พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม จึงชวนให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระประโทณเจดีย์ ทางคณะสงฆ์จึงย้ายให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระประโทณเจดีย์ เมื่อพ.ศ.๒๔๙๙ และได้เลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่ พระครูวินยาภินันท์ ในปีนี้เองเป็นพระวินัยธรจังหวัดนครปฐม เมื่อพ.ศ.๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตจังหวัดนครปฐม เมื่อพ.ศ.๒๕๐๑ เป็นเจ้าคณะตำบลดอนยายหอม เมื่อพ.ศ.๒๕๐๖
ในเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาเป็นเวลา ๕ ปี ต่อมาองค์พระประโทณเจดีย์เกิดชำรุดขึ้น เนื่องจากฝนตกหนัก เมื่อพ.ศ.๒๕๐๔ เวลา ๐๗.๐๐ น.เศษ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (พระราชเจติยาภิบาล) ในขณะนั้นเป็นอันเตวาสิก กำลังนั้งฉันภัตตาหารอยู่ ได้ยินเสียงดังครืน แล้วหันมองไปที่องค์พระประโทณ ปรากฏว่าอิฐที่ก่อไว้กลางองค์พระทางทิศตะวันตกเกิดพังลงมา ประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ ของลานสี่เหลี่ยมด้านบนขององค์พระเจดีย์ ต่อมากองโบราณคดีทราบข่าวจึงมาสำรวจ และว่าจะมาซ่อมแต่ไม่ซ่อม ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด พระครูวินยาภินันท์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น เห็นว่าถ้าปล่อยไว้องค์พระประโทณเจดีย์ จะกลายเป็นเศษอิฐเศษปูน จึงจัดการซ่อมโดยใช้แบบตั้งแล้วเทเป็นขั้นๆ สร้างทับอิฐเก่าเพื่อกันพังรอบองค์เจดีย์ ที่เป็นอิฐโบราณก่ออยู่ และเทคอนกรีตบนลานสี่เหลี่ยมด้านบนของเจดีย์ พร้อมกับทำลูกกรงทั้ง ๔ ด้าน ในส่วนบนของเจดีย์ ต่อมาได้ทำแบบเทปูนฐานสี่เหลี่ยมชั้นล่างขององค์พระประโทณเจดีย์ โดยปิดอิฐโบราณที่ก่อไว้เดิมหมด จึงปรากฏว่าเป็นของใหม่แต่ของเก่าอยู่ข้างใน สรุปว่าสร้างทับของเก่าไว้ใหม่หมดอีก ๒ ชั้น
ในสมัยที่ พระครูวินยาภินันท์ ปกครองวัดพระประโทณเจดีย์ รวมได้ ๑๕ ปี ท่านได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ก่อสร้างถาวรวัตถุไว้เป็นจำนวนมากมาย จนกระทั่งทางจังหวัดได้เสนอให้เป็น วัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี พ.ศ.๒๕๐๗ สิ่งก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ ที่เป็นผลงานของ พระครูวินยาภินันท์ ตามที่พระเดชพระคุณฯ พระราชเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่าน ได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้มีดังนี้
งานสาธารณูปการ ผลงานการก่อสร้าง
พ.ศ.๒๕๐๐ – ๒๕๐๖ สร้างกุฏิสงห์จำนวน ๓ หลัง ทำเป็น ๒ ชั้น สิ้นเงินประมาณ ๑๒๔,๑๕๑ บาท
พ.ศ.๒๕๐๒ สร้างศาลาพักร้อน ๒ หลัง สิ้นเงินประมาณ ๔๓,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท สิ้นเงินประมาณ ๗๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๕ สร้างกุฏิกรรมฐานบริเวณข้างวิหารหลวงพ่อโต บนลานเจดีย์ สิ้นเงินประมาณ ๑๗,๕๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๘ สร้างกำแพงแก้วหน้าวัดพร้อมทั้งซุ้มประตู ๓ ซุ้ม สิ้นเงินประมาณ ๙๕,๑๙๑ บาท
พ.ศ.๒๕๑๐ สร้างกุฏิกรรมฐานบริเวณข้างวิหารหลวงพ่อโต บนลานเจดีย์ จำนวน ๑ หลัง สิ้นเงินประมาณ ๓๕,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๑๑ เจาะน้ำบาดาล สิ้นเงินประมาณ ๙,๕๕๐ บาท
พ.ศ.๒๕๑๑ รื้อกุฏิ ๓ หลัง แล้วนำมาปลูกเข้าแถวใหม่ สิ้นเงินประมาณ ๗๖,๖๐๑ บาท
พ.ศ.๒๕๑๒ สร้างเมรุเผาศพและศาลาเมรุคู่เมรุ ติดกับศาลาการเปรียญ สิ้นเงินประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๑๓ สร้างกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตก และทิศเหนือ สิ้นเงินประมาณ ๕๔,๙๔๖ บาท
พ.ศ.๒๕๑๔ รื้อศาลาดินแล้วไปปลูกข้างในใหม่ สิ้นเงินประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท
ผลงานการบูรณปฏิสังขรณ์
พ.ศ.๒๔๙๙ ทาสีองค์พระประโทณเจดีย์ สิ้นเงินประมาณ ๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๐ ลงรักปิดทองติดกระจกหน้าจั่วศาลาการเปรียญ สิ้นเงินประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๔ ได้ทำการบูรณะวิหารหลวงพ่อโตครั้งใหญ่ คือ ทำแบบเทคอนกรีตเสริมเหล็กผนังพระวิหาร ทั้ง ๔ ด้าน แล้วฉาบเรียบเทเสาคอนกรีต ๒ ต้น รับหน้าจั่ว ด้านทิศตะวันออก เปลี่ยนไม้ เครื่องบนเป็นจำนวนมาก แล้วรื้อกระเบื้อง แบบกาบกล้วยออก และกลอนระแนงออก เปลี่ยนกลอนระแนงใหม่ทั้งหมดหลัง แล้วมุงด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาแล้วทำช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ทำลวดลายไทยที่หน้าบัน ทำลวดลายที่ซุ้มประตูและหน้าต่างทุก ๆ ช่อง สิ้นเงิน ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๐๔ เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กสี่เหลี่ยมชั้นบนลานเจดีย์ เสร็จแล้วทำลูกกรงล้อมรอบทั้งสี่ทิศ ด้านบนองค์เจดีย์ด้วย
พ.ศ.๒๕๐๔ – ๒๕๐๘ ได้ทำการบูรณะองค์พระประโทณเจดีย์ เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กสี่เหลี่ยมชั้นบน ลานเจดีย์ และทำลูกกรงรอบองค์พระ แล้วทาสีใหม่ สิ้นเงินประมาณ ๑๓๕,๐๕๕ บาท
(ให้ดูรายระเอียดการบูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งสุดท้ายของพระครูวินยาภินันท์ ในประวัติองค์พระ ประโทณเจดีย์)
ประมาณพ.ศ.๒๕๐๗ ได้ทำการบูรณะพระอุโบสถ คือ เปลี่ยนกระเบื้องปูนทราย มาเป็นกระเบื้องเคลือบดิน เผา เสร็จแล้วทาสีทำลูกกรง เหล็กดัดตามหน้าต่าง ทุกช่องทำประตูเหล็กทั้ง ๔ ประตู สิ้นเงิน ประมาณ ๖๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๑๐ ซ่อมศาลาโยมชม จีรพันธุ์ ดัดแปลงเป็นศาลาดิน สิ้นเงินประมาณ ๑๓,๒๔๗ บาท
ประมาณปีพ.ศ.๒๕๑๐ ได้ทำการบูรณะ เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กบนลานเจดีย์ชั้นล่าง ๓ ด้าน เว้นด้านทางทิศใต้ สิ้นเงินประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาทเศษ
พ.ศ.๒๕๑๑ ได้ทำการบูรณะศษลาการเปรียญพร้อมทั้งติดลูกกรงเหล็ก เปลี่ยนกระเบื้องปูนทราย มาเป็น กระเบื้องเคลือบดินเผา เสร็จแล้วตีฝ้าด้วยกระเบื้องแผ่นเลียบ สิ้นเงินประมาณ๑๑๕,๔๖๙ บาท
ท่านพระครูวินยาภินันท์ ได้มาก่อสร้างถาวรวัตถุก่อสร้างวัด สิ้นมูลค่าทั้งหมดประมาณ ๗๑๐,๙๓๙ บาท(เจ็ดแสนหนึ่งหมื่นเก้าร้อยสามสิบเก้าบาทถ้วน)และงานด้านบูรณปฏิสังขรณ์
สิ้นมูลค่าทั้งหมดประมาณ ๕๙๓,๗๗๑ บาท (ห้าแสนเก้าหมื่นสามพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาท ถ้วน) รวมผลงานของท่านทั้งด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งหมดสิ้นเงินประมาณ ๑,๒๐๔,๗๑๐ บาท (หนึ่งล้านสองแสนสี่พันเจ็ดร้อยสิบบาทถ้วน) ท่านทำความเจริญให้แก่วัด พระประโทณเจดีย์ ตั้งแต่ท่านมาอยู่จนกระทั่งมรณภาพ และยังได้นำเงินส่วนตัวเข้า บูรณปฏิสังขรณ์ด้วยจนหมด เพราะท่านได้มอบกายถวายชีวิตให้แก่พระพุทธศาสนาจนกว่าชีวิต จะหาไม่ ท่านทำงานการก่อสร้างไม่หยุดหย่อนร่างกายจึงแข็งแรงอยู่เสมอ แต่แล้วเมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๑๓ ท่านก็เริ่มป่วยเป็นโรคมะเร็งที่กล่องเสียง และได้ไปฉายแสงที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ก็ไม่หาย อยู่จนกระทั่ง วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๑๔ เวลา ๐๗.๔๐ น. ท่านก็ถึงแก่มรณภาพ ณ ที่ โรงพยาบาลนครปฐม สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี ๕๙ พรรษา
๘ พระมหาปราโมทย์ ปโมทิโต
ชื่อ นามเดิม ปราโมชย์ นามสกุล เพ็ชรที่หนึ่ง บิดา นายปั้น เพ็ชรที่หนึ่ง มารดา นางชั้ว เพ็ชร ที่หนึ่ง
สถานะเดิม เกิดที่บ้านยางงาม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี พ.ศ.๒๔๘๕ ปีมะเมีย ท่านเป็ฯหลานของ พระครูวินยาภินันท์ (หวัง พุทธสโร เจ้าอาวาสรูปที่ ๗ มีศักดิ์เป็นหลวงลุง)
บรรพชา ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๓ ปี ที่บ้านเกิดของท่าน หลวงลุงได้ไปรับมาอยู่ด้วย เพื่อศึกษพระปริยัติธรรม
อุปสมบท เมื่อพ.ศ.๒๕๐๕ วัดพระประโทณเจดีย์ ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม พระอุปัชฌาย์ พระครูวินยาภินันท์
วิทยฐานะ พ.ศ.๒๕๐๗ สอบได้ประโยค ป.ธ.๓ สำนักเรียนวัดพระประโทณเจดีย์
พ.ศ.๒๕๑๐ สอบได้ประโยค ป.ธ.๔ สำนักเรียนวัดพระประโทณเจดีย์
พ.ศ.๒๕๑๑ สอบได้ประโยค ป.ธ.๕ สำนักเรียนวัดพระประโทณเจดีย์
พ.ศ.๒๕๑๘ สอบได้ประโยค ป.ธ.๖ สำนักเรียนวัดพระประโทณเจดีย์
พ.ศ.๒๕๒๐ สอบได้ประโยค ป.ธ.๗ สำนักเรียนวัดบ้านถ้ำ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
งานสาธารณูปการ เมื่อพ.ศ.๒๕๑๕ ได้ก่อสร้างกุฏิ คุณนายหลุย นิลสุวรรณ เนื่องจากว่าท่านดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาสไม่นานนักผลงานการก่อสร้างจึงมีไม่มาก
งานปกครอง ท่านช่วยงานพระอุปัชฌาย์ มาด้วยดีโดยตลอด ในปีพ.ศ.๒๕๑๔ ท่านพระครูวินยาภินันท์ได้ มรณภาพลง คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นรักษาการเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งเจ้าอาวาส ในปีพ.ศ.๒๕๑๕ ขณะนั้นมีพรรษาได้ ๑๐ พรรษา
- ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส เพื่อต้องการไปศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อ ในปี พ.ศ.๒๕๑๖
- ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านถ้ำ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี และมี ตำแหน่งทางการปกครอง คือ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
- ท่านได้เป็นผู้ฝักใฝ่ในการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และมีวาทศิลป์ในการแสดงธรรม และเป็นผู้มี บุคลิกภาพน่าเคารพเลื่อมใส นอกจากนี้ท่านยังเป็นสหธรรมิกร่วมสำนักบาลีเดียวกันกับพระเดช พระคุณฯ พระธรรมปริยัติเวที เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เจ้าคณะภาค ๑๕ฯ และพระเดชพระคุณฯ พระราชรัตนมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม และเป็นรองเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ อีกด้วย
๙ พระราชเจติยาภิบาล
ชื่อ พระราชเจติยาภิบาล ฉายา ธมฺมธโร อายุ ๗๖ พรรษา ๔๙ น.ธ.เอก วัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหาร ตำบลพระประโทน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด พระประโทณเจดีย์ วรวิหาร
สถานะเดิม ชื่อ จวน นามสกุล อิ่มเขียว เกิดวันเสาร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน๕ ปีระกา วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ บิดา นาย ผิน อิ่มเขียว มารดา นางมี อิ่มเขียว บ้านหมู่ที่ ๑๐ ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
มีพี่น้องด้วยร่วมมารดาเดียวกัน ๕ คน คือ
๑ นางจีน ศิริโภคา
๒ พระราชเจติยาภิบาล (จวน อิ่มเขียว)
๓ นางแก้ว ทิมบุตร
๔ นางก้าน อยู่เย็น
๕ นางกิ่ง บำรุงสุข
บรรพชา วันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด วันที่ ๒๖ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๓ วัดพระประโทณ เจดีย์ ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พระอุปัชฌาย์ พระครูวินยา ภินันท์ (หวัง) วัดพระประโทณเจดีย์
อุปสมบท วันอาทิตย์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด วันที่ ๒๖ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๓ วัดพระประโทณ เจดีย์ ตำบลพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พระอุปัชฌาย์ พระครูวินยา ภินันท์ (หวัง) วัดพระประโทณเจดีย์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น